หูอื้อ

หูอื้อ: อาการสูญเสียการได้ยินที่อาจรุนแรงกว่าที่คิด

หูอื้อ เป็นอีกหนึ่งการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้เป็นเรื่องเล็กๆ เลย  หูอื้ออาจจะดูเหมือนเป็นอาการที่พบเจอได้ทั่วไปสำหรับคนแทบทุกช่วงวัย จนหลายคนอาจคิดว่าจริงๆ มันคือเรื่องที่ปกติและคงไม่ได้รุนแรงมากเพราะใครๆ ก็เป็นกันอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงมันคือการที่ผู้มีอาการทำให้เป็นเร่องปกติเพราะไม่อยากคิดมากมากกว่า ทั้งนี้สำหรับใครที่สนใจและอยากทราบข้อเท็จจริงของอาการหูอื้อ บทความนี้จะพาคุณไปค้นพบความรู้เกี่ยวกับอาการหูอื้อ 

หูอื้อ เกิดจากอะไร ? 

หูอื้อ เป็นอาการที่ได้ยินลดน้อยลงไปโดยจะรู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างไปอุดกั้นอยู่บริเวณช่องหู หรือได้ยินเสียงอยู่ภายในหู เช่นมีเสียงอื้ออึง เสียงวี้ดซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น 

  • การอยู่ในพื้นที่เสียงดังเกินขีดจำกัดที่สามารถรับได้ เช่นสถานที่ท่องเที่ยวกลางคืน คอนเสิร์ต หรือการใส่หูฟังฟังเพลงที่ดังเกินไป 
  • มีน้ำคั่งค้างอยู่ในหู 
  • ความดันในหูเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกระทันหัน โดยอาจเกิดจากการขึ้นเครื่องบิน หรือการดำน้ำที่ลึก 
  • ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะทำให้กระทบต่อการได้ยิน 
  • มีความเครียด 
  • โรคน้ำในหูที่ไม่เท่ากัน 
  • หูชั้นกลางติดเชื้อจากไข้หวัด 

โดยปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่ออาการหูอื้อทั้งสิ้น และความรุนแรงกต่างกันตามสิ่งที่หูได้รับผลกระทบ และขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ได้รับการกระทบด้วย  

หูอื้อ รุนแรงจริงหรือ ? 

อาการหูอื้อนั้นอาจไม่รุงแรงมากในขั้นต้น แต่มีอาการหูอื้อหรือหูดับฉับพลันที่อาจรุนแรงและน่ากลัวกว่าที่คิด โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากภาวะที่หูสูญเสียการได้ยินซึ่งลดลงมากกว่า 20 เดซิเบลในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยสามารถเกิดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างปัจจัยหลักๆ ก็เช่น การพีกผ่อนน้อย การติดเชื้อไวรัส การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เกิดเนื้องอกในสมอง หรือการไหวเวียนเลือกในหูที่น้อยลง ทั้งหมดล้วนมีผลต่ออาการหูอื้อทั้งหมด 

อาการหูอื้อฉับพลันเป็นอาการที่รุนแรงและควรเข้ารับการรักษาทันทีกับผู้เชี่ยวชาญ เพราะด้วยหลายคนชอบชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้เพราะคิดว่ามันสามารถหายเองได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่เลย เพราะจำไว้ว่าแค่หูอื้อธรรมดาก็สามารถนำไปสู่อาการหูอื้อที่มีความรุนแรงได้ แนะนำว่าเมื่อมีอาการแล้ว ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาและตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบแน่ชัดจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะสูญเสียการได้ยินไปตลอดกาล